14 มิถุนายน 2016 เวลา 11:08:40 น.

เราควรเปลี่ยนผ้าเบรคเมื่อไหร่

ระบบเบรครถยนต์ในปัจจุบันเป็นแบบไฮโดรลิก แบ่งออกเป็น 2 แบบคือ
 
1. ดรัมเบรค (Drum Brake)
 
ดรัมเบรคจะติดตั้งแน่นกับลูกล้อ เบรคจะทำงานเมื่อมีการถ่างก้ามเบรคให้เสียดสีกับตัวเบรค ดรัมเบรคจะทำให้ล้อหยุด ดรัมเบรคใช้มากในรถบรรทุก ทั้งขนาดใหญ่และเล็ก รวมทั้งรถยนต์ส่วนบุคคลบางรุ่น รถบางรุ่นอาจใช้ระบบนี้เฉพาะล้อหลัง
 
ข้อดี มีความสามารถในการหยุดรถได้เร็ว เพราะก้ามเบรคและดรัมเบรคถูกยึดติดกับดุมล้อ เมื่อเหยียบเบรค คนขับใช้แรงกดดันเบรคน้อย รถบางรุ่นไม่จำเป็นต้องใช้หม้อลมเบรคช่วยในการเบรค
 
ข้อเสีย ความร้อนเกิดจากการเสียดสี ระหว่างผ้าเบรคในดรัมเบรคนั้นไม่สามารถถ่ายเทความร้อนได้ดี บางครั้งทำให้ผ้าเบรคมีอุณหภูมิสูงมาก มีผลทำให้ประสิทธิภาพการเบรคลดลง
 
 
2. ดิสก์เบรค (Disc Brake)
 
เป็นระบบเบรคระบบใหม่นิยมกันมาก เบรคจะทำงานโดยดันผ้าเบรคให้สัมผัสกับจานเบรคเพื่อให้รถหยุด รถยนต์บางรุ่นใช้ดิสก์เบรคทั้ง 4 ล้อ บางรุ่นใช้เฉพาะล้อหน้า
 
ข้อดี ลดอาการเฟด (เบรคหาย) เนื่องจากอากาศถ่ายเทความร้อนได้ดีกว่าดรัมเบรค นอกจากนั้นเมื่อเบรคเปียกน้ำผ้าเบรคจะสลัดน้ำออกจากระบบได้ดี ในขณะที่ดรัมเบรคน้ำจะขังอยู่ภายใน และใช้เวลาถ่ายเทค่อนข้างช้า
 
ข้อเสีย ไม่มีระบบเซอร์โว แอ๊กชั่น (Servo action) หรือมัลติพลายอิ้ง แอ๊กชั่น (multiplying action) เหมือนกับดรัมเบรค ผู้ขับจึงต้องออกแรงมากกว่า จึงต้องใช้ระบบเพิ่มกำลัง เพื่อเป็นการผ่อนแรงขณะเหยียบเบรค ทำให้ระบบดิสก์เบรคมีราคาค่อนข้างแพงกว่าดรัมเบรค
 
 
เราควรเปลี่ยนผ้าเบรคเมื่อไหร่?
 
- เปลี่ยนผ้าเบรคเมื่อผ้าเบรคมีความหนาน้อยกว่า 4 มม. และก้ามเบรคมีผ้าเบรคน้อยกว่า 1 มม. หรือผ้าเบรคเหลือน้อยกว่า 30%
- เปลี่ยนผ้าเบรคเมื่อมีคราบน้ำมันหรือจาระบีมากผิดปกติ
- เปลี่ยนผ้าเบรคทันทีที่เห็นรอยร้าวบนดิสก์เบรคหรือก้ามเบรค
- เปลี่ยนผ้าเบรคทุกๆ 25,000 กม. ขึ้นอยู่กับลักษณะการขับและการใช้เบรคหากบรรทุกของหนักและขับรถด้วยความเร็วสูง อายุผ้าเบรคอาจจะสั้นกว่า หากเป็นผ้าเบรคที่มีส่วนผสมของโลหะสูง อายุของผ้าเบรคจะยาวกว่าผ้า
 
เบรคเกรดที่มีส่วนผสมของโลหะต่ำ หรือผ้าเบรคเกรดโรงงานผลิตรถยนต์ (OEM) หากเบรคแล้วมีเสียงคล้ายเหล็กครูด เสียดสีกันอาจเกิดจากคลิปผ้าเบรคครูดกับจานเบรค เป็นสัญญาณเตือนว่าควรเปลี่ยนผ้าเบรคได้ สิ่งผิดปกตินี้อาจจะไม่ได้เกิดจากผ้าเบรคหมดเสมอไป จึงควรให้ช่างตรวจดูความผิดปกติอื่นๆ
     
 
ขอขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก Sanook! AUTO

 

ภาพ และข้อมูล จาก www.chiangraifocus.com