กระดานข่าวเชียงรายโฟกัส ดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย

 
Untitled Document
 
ห้องนี้เน้นหื้อใจ้ภาษากำเมือง เรื่องมะเก่า อนุรักษ์กำเมือง และของพื้นเมืองตังหลาย วิถีชีวิตจาวบ้าน ศิลปวัฒนธรรมล้านนา วิถีชีวิตคนเมือง เพลงพื้นเมือง ค่าว จ๊อย ซอ ฯลฯ เน่อครับ
++ ข้อความที่ีท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน โปรดใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง ++

สมาชิกเข้าสู่ระบบ Username : Password : ลืมรหัสผ่าน
 ตั้งคำถามใหม่ | ตอบคำถาม | ผู้เข้าชม 14165 ครั้ง  ตอบกระทู้ 12 คำตอบ

เชียงรายพันธุ์แท้
วันที่
15 มิถุนายน 2009
เวลา
19:43:27
cmu_555@hotmail.com
IP
202.28.27.3
   

กำแปงเวียงเจียงใหม่

Photo by :: เชียงรายพันธุ์แท้

หากเดินเข้าไปในบริเวณกำแพงเมืองเชียงใหม่ในปัจจุบัน จะเห็นภาพของต้นไม้ คูน้ำ กำแพงเมืองและถนนที่ทอดยาวโอบล้อมเมืองไว้ เป็นภาพที่ก่อให้เกิดความสบายตาและสงบร่มรื่นอย่างยิ่งโดยเฉพาะในช่วงเวลาเย็นๆ ดูเหมือนว่าจะเป็นภาพที่แตกต่างจากคำบอกเล่าของคนเฒ่าคนแก่อายุ 70-80 ปี ที่เล่าว่าเมื่อตอนที่ยังเป็นเด็ก บริเวณกำแพงเมืองมีสภาพทรุดโทรม บางส่วนมีหญ้ารกปกคลุม และบางส่วนพังทลาย ถนนริมกำแพงเมืองด้านในเป็นเพียงทางเดินแคบๆ ส่วนถนนริมคูเมืองด้านนอกแคบมากขนาดคนเดินสวนกันได้เท่านั้น เกวียนไม่สามารถเดินผ่านได้ ผู้คนมักไม่กล้าเดินผ่านเพราะเปลี่ยวมาก มีหลักฐานว่าตั้งแต่ปี 2508 เป็นต้นมาทางเทศบาลได้เริ่มบูรณะประตูเมืองและแจ่งเมืองให้ดูเป็นระเบียบดังที่เห็นในปัจจุบัน
ในปัจจุบันกำแพงเมืองเชียงใหม่มี 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นกำแพงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ก่อด้วยอิฐมีขนาดกว้าง 900 วา ยาว 1,000 วา อีกส่วนเป็นกำแพงดินที่โอบล้อมเมืองตั้งแต่บริเวณถนนท่าแพใกล้วัดบุพพารามทอดยาวไปจนถึงโรงพยาบาลสวนปรุง
ในบริเวณมุมกำแพงเมืองรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าคนเมืองเรียกว่า แจ่ง แต่ละแจ่งมีชื่อเรียกดังนี้ คือ แจ่งหัวรินที่ถนนห้วยแก้วตรงกันข้ามกับโรงพยาบาลเชียงใหม่ราม แจ่งศรีภูมิตรงข้ามวัดชัยศรีภูมิ วัดนี้เดิมชื่อวัดพันตาเกิ๋น เนื่องจากมีเรื่องเล่าว่าคูเมืองตรงนี้ลึกมาก ต้องใช้บันไดไม้ไผ่ยาวถึง 1,000 ข้อ จึงจะสามารถหยั่งถึงพื้นได้ คนเมืองเรียกบันไดไม้ไผ่ว่าเกิ๋น จึงเรียกวัดนี้ว่าวัดพันตาเกิ๋น แจ่งขะต๊ำ ใกล้ๆ กับวัดพวกช้าง “ขะต๊ำ” หมายถึงเครื่องมือจับปลาประเภทหนึ่ง ซึ่งแต่เดิมบริเวณนี้ปลาชุกชุม ผู้คนมักจะมาดักปลาโดยใช้ “ขะต๊ำ” ในบริเวณนี้จึงได้ชื่อว่าแจ่งขะต๊ำ แจ่งกู่เฮืองตรงกันข้ามโรงพยาบาลสวนปรุง
กำแพงเมืองแต่ละด้านจากแจ่งสู่แจ่ง เจาะช่องประตูเป็นทางเข้าออกเมืองดังนี้ จากแจ่งหัวรินถึงแจ่งศรีภูมิมีประตูช้างเผือก จากแจ่งศรีภูมิถึงแจ่งขะต๊ำมีสองประตูคือ ประตูช้างม่อยและประตูท่าแพ จากแจ่งขะต๊ำถึงแจ่งกู่เฮือง มีสองประตูคือ ประตูเชียงใหม่และประตูสวนปรุง และจากแจ่งกู่เฮืองถึงแจ่งหัวรินมีประตูสวนดอก บริเวณประตูทั้ง 6 ประตู มีจารึกลงยันต์และคาถาบนศิลาจารึกติดไว้ที่ทางเข้าออกประตู แต่ที่ประตูช้างม่อยหายไป ในขณะที่บางแห่งได้ทำคัดลอกขึ้นใหม่ เช่นที่ประตูสวนปรุงและประตูสวนดอก เป็นต้น

 


ความคิดเห็นที่ 1
เชียงรายพันธุ์แท้
15 มิถุนายน 2009
19:45:28
cmu_555@hotmail.com
IP : 202.28.27.3
Photo by :: เชียงรายพันธุ์แท้


เชียงใหม่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับกำแพงและประตูเมืองหลงเหลืออยู่อย่างสมบูรณ์ แม้ว่าในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมาจะมีการบูรณะซ่อมแซมมาบ้างแล้วก็ตาม แนวกำแพงและประตูเมืองที่เห็นในปัจจุบันยังคงมีเค้าโครงของแนวกำแพงสมัย โบราณอยู่ โดยเฉพาะก้อนอิฐซึ่งมีลักษณะใหญ่กว่าปกติ สันนิษฐานว่าน่าจะอยู่ในสมัยของพระเจ้ากาวิละที่เข้ามาฟื้นฟูเมืองเชียงใหม่ หลังจากที่ร้างมานานกว่า ๒๐๐ ปี

กำแพงเมืองและประตูเมืองเชียงใหม่มีความสำคัญ ถือได้ว่าเป็นสัญลักษณ์ที่พิเศษ ในอดีตเมื่อพระมหากษัตริย์จะเสด็จเข้าเมืองจะต้องเข้าเมืองที่ประตูทางทิศ เหนือซึ่งถือเป็นเดชเมือง ในการสร้างกำแพงเมืองเชียงใหม่ขึ้นแต่เดิมนั้น พงศาวดารโยนกกล่าวไว้ว่า เมื่อพญามังรายได้สร้างเมืองเชียงใหม่ขึ้นแล้ว ได้ทรงขุดคูเมืองทั้งสี่ด้านนำเอาดินขึ้นมาถมเป็นแนวกำแพง โดยเริ่มขุดที่มุมตะวันออกเฉียงเหนือคือแจ่งศรีภูมิอันเป็นทิศมงคลก่อน แล้วก่ออิฐขนาบสองข้างกันดินพังทลาย ข้างบนกำแพงปูอิฐตลอดแนวทำเสมาไว้บนกำแพงทั้งสี่ด้านและประตูเมืองอีกทั้ง ๔ แห่ง คือ ประตูหัวเวียง(ช้างเผือก) ,ประตูท้ายเวียง(เชียงใหม่) ,ประตูท่าแพ และ ประตูสวนดอก

อาจารย์มณี พยอมยงค์กล่าวถึง เทวดาอารักษ์ที่สิงสถิตย์อยู่ที่ประตูเมืองไว้ดังนี้ เทวบุตร สุรักขิโต รักษาประตูช้างเผือกและประตูท่าแพตะวันออก เทวบุตรไชยภุมโม รักษาประตูเชียงใหม่และประตูเมืองด้านใต้ เทวบุตรสุรขาโต รักษาประตูสวนดอกด้านทิศตะวันตก เทวบุตรคันธรักขิโตรักษาประตูช้างเผือกด้านทิศเหนือ

กำแพงเมืองเชียงใหม่มีสองชั้น คือ กำแพงชั้นในรูปสี่เหลี่ยมและกำแพงชั้นนอกหรือกำแพงดิน กำแพงทั้งสองชั้นสร้างขึ้นไม่พร้อมกันและมีความสำคัญไม่เท่ากัน กำแพงชั้นในสันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยพระยามังราย เมื่อครั้งสถาปนาเมืองเชียงใหม่ในปี พ.ศ. ๑๘๙๓ ส่วนกำแพงชั้นนอกสันนิษฐานว่าสร้างประมาณพุทธศตวรรษที่ ๒๒

ในรายงานการวิจัยเรื่อง "ชุมชนโบราณในแอ่งเชียงใหม่ - ลำพูน" โดยสรัสวดี อ๋องสกุล กล่าวถึงความสำคัญของกำแพงเมืองทั้งสองว่า กำแพงเมืองชั้นในมีความสำคัญกว่ากำแพงเมืองชั้นนอก ซึ่งพิจารณาจากการใช้สอยพื้นที่พบว่า ภายในกำแพงเมืองชั้นในถือได้ว่าเป็นศูนย์กลางการปกครองเพราะเป็นที่อยู่ของ กษัตริย์และเจ้านาย รวมทั้งเป็นที่ตั้งของวัดสำคัญหลายแห่ง เช่น วัดพระสิงห์ วัดเจดีย์หลวง วัดเชียงมั่น ด้านถนนภายในกำแพงเมืองมีลักษณะตัดตรงเป็นเรขาคณิต เมื่อเปรียบเทียบกันกำแพงเมืองชั้นนอกแล้วพบว่า กำแพงชั้นนอกเป็นที่อยู่ของช่างและพ่อค้าเป็นกลุ่มชาติพันธุ์หลากหลาย อาทิ ชาวเขิน มอญ พม่า ไทใหญ่และไทยวน ส่วนบริเวณกำแพงเมืองชั้นในจะกำหนดให้เฉพาะชาวไทยวน หรือ คนเมืองอยู่เท่านั้น

บริเวณกำแพงเมืองชั้นใน ประกอบด้วยประตูเมือง ๕ ประตู ได้แก่

ความคิดเห็นที่ 2
เชียงรายพันธุ์แท้
15 มิถุนายน 2009
19:50:29
cmu_555@hotmail.com
IP : 202.28.27.3
Photo by :: เชียงรายพันธุ์แท้


ประตูหัวเวียง
(คนเชียงใหม่เรียก ปะตู๋จ๊างเผือก)
หรือ ประตูช้างเผือก อยู่ทางทิศเหนือของเมืองถือว่าเป็นประตูมงคล ในพิธีราชาภิเษกตามโบราณราชประเพณี กษัตริย์ผู้ปกครองเมืองเชียงใหม่จะเสด็จเข้ามาที่ประตูนี้ ประตูหัวเวียงเปลี่ยนชื่อมาเป็น ประตูช้างเผือกเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ ๒๓ เมื่อพญาแสนเมืองมาได้สร้างอนุสาวรีย์ช้างเผือก 2 เชือกเป็นอนุสรณ์แก่มหาดเล็ก ๒ คนที่ช่วยพระองค์ให้รอดพ้นจากภัยสงคราม แต่เดิมรูปปั้นช้างเผือกทั้ง ๒ เชือกอยู่ริมถนนโชตนาด้านละเชือก สำหรับรูปปั้นช้างเผือกที่ตั้งในปัจจุบันสร้างขึ้นใหม่ในสมัยพระเจ้ากาวิละ

ความคิดเห็นที่ 3
เชียงรายพันธุ์แท้
15 มิถุนายน 2009
19:51:26
cmu_555@hotmail.com
IP : 202.28.27.3
Photo by :: เชียงรายพันธุ์แท้


ประตูเชียงเรือก หรือ ประตูท่าแพ (ชั้นใน)
ตั้งอยู่ด้านตะวันออกของกำแพงเมืองชั้นใน มีบ้านเชียงเรือกตั้งอยู่บริเวณนอกกำแพงเมือง เดิมบ้านเชียงเรือกเป็นชุมชนค้าขายเพราะเป็นที่ตั้งของตลาดเชียงเรือก ตลาดเก่าแก่แห่งหนึ่งของเชียงใหม่ คาดว่ามีประชากรหนาแน่น ซึ่งมีหลักฐานกล่าวถึงสมัยพญาแก้วเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมเชียงเรือกมีคนจมน้ำ ตายเป็นจำนวนมาก ในสมัยพระเจ้าอินทวิชายานนท์ เจ้าหลวงเชียงใหม่องค์ที่ ๒ (พ.ศ. ๒๔๑๖ - ๒๔๔๐) ชื่อประตูเชียงเรือก เปลี่ยนมาเป็นประตูท่าแพชั้นในเพื่อให้คู่กับประตูท่าแพชั้นนอก ซึ่งอยู่บนถนนสายเดียวกัน ชื่อประตูท่าแพ หมายถึงประตูชั้นนอกตั้งอยู่บริเวณหน้าวัดแสนฝาง ต่อมาบ้านเรือนขยายตัวประตูท่าแพชั้นนอกได้สลายไปเหลือแต่ประตูท่าแพชั้นใน ชาวบ้านจึงเรียกชื่อสั้น ๆ ว่า ประตูท่าแพ สำหรับประตูท่าแพในปัจจุบันสร้างขึ้นใหม่ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๘ - ๒๕๒๙ โดยอาศัยภาพถ่ายเก่าประตูเมืองเชียงใหม่ประตูหนึ่งในสมัยรัชกาลที่ ๕

ความคิดเห็นที่ 4
เชียงรายพันธุ์แท้
15 มิถุนายน 2009
19:54:43
cmu_555@hotmail.com
IP : 202.28.27.3
Photo by :: เชียงรายพันธุ์แท้


ประตูท้ายเวียง
(คนเชียงใหม่เรียก ปะตู๋เจียงใหม่)
หรือ ประตูเชียงใหม่ ตั้งอยู่ทางด้านใต้ ในอดีตเป็นเส้นทางสำคัญระหว่างเชียงใหม่ไปเวียงกุมกามและลำพูน ในสมัยราชวงศ์มังราย (พ.ศ. ๑๘๐๔ - ๒๑๐๑) ทั้งเชียงใหม่ กุมกามและลำพูนตั้งอยู่ด้านตะวันตกของแม่น้ำปิงเช่นเดียว กัน การเดินทางจึงไม่ต้องข้ามแม่น้ำปิง

ความคิดเห็นที่ 5
เชียงรายพันธุ์แท้
15 มิถุนายน 2009
19:56:18
cmu_555@hotmail.com
IP : 202.28.27.3
Photo by :: เชียงรายพันธุ์แท้


ประตูแสนปุง
(คนเชียงใหม่เรียก ปะตู๋แสนปุง)
ตั้งอยู่ด้านตะวันตกเฉียงใต้ใกล้กับประตูเชียงใหม่ คือเฉพาะกำแพงเมืองด้านใต้เท่านั้นที่มีสองประตู ประตูนี้สันนิษฐานอาจเจาะภายหลังคือไม่ได้สร้างพร้อมกับสร้างเมืองเชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ. ๑๘๓๙ อย่างไรก็ตามยังไม่พบหลักฐานที่กล่าวถึงการเจาะประตูนี้ หลักฐานตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่กล่าวถึงประตูแสนปุงครั้งแรกสมัยมหาเทวีจิรประภา พ.ศ. ๒๐๘๘ "...ชาวใต้มาปล่นเอาปะตูแสนปุง บ่ได้..." สันนิษฐานที่ชื่อ แสนปุง เพราะเป็นทางออกไปสู่บริเวณที่มีเตาปุง (เตาไฟ) มากมาย เพราะด้านนอกประตูเป็นที่อยู่ของกลุ่มช่างหลอมโลหะจึงมีเตาปุงไว้ หลอมโลหะจำนวนมากเปรียบนับแสน ปัจจุบันยังมีบ้านช่างหล่อพระพุทธรูปอาศัย อยู่ และถนนเลียบคูเมืองด้านนี้ชื่อถนนช่างหล่อจากความเชื่อเรื่องทิศและ
พื้นที่ถือเป็นเขตกาลกิณีจึงกำหนดให้ประตูแสนปุงเป็นทางออกไปสุสาน
ห้ามมิให้นำศพออกทางประตูอื่น ออกได้ประตูเดียวคือ ประตูแสนปุง


ความคิดเห็นที่ 6
เชียงรายพันธุ์แท้
15 มิถุนายน 2009
19:59:21
cmu_555@hotmail.com
IP : 202.28.27.3
Photo by :: เชียงรายพันธุ์แท้


ประตูสวนดอก
(คนเชียงใหม่เรียก ปะตู๋สวนดอก)
ตั้งอยู่ทิศตะวันตกประตูด้านนี้เป็นทางออกไปสู่อุทยาน ของกษัตริย์ สมัยพญากือนาธรรมิกราช พ.ศ. ๑๙๑๔ ได้สร้างวัดบนพื้นที่อุทยานจึงเรียก วัดสวนดอก และในช่วงนั้นพญากือนาธรรมิกราช คงสร้างเวียงสวนดอกด้วย

ความคิดเห็นที่ 7
เชียงรายพันธุ์แท้
15 มิถุนายน 2009
20:09:03
cmu_555@hotmail.com
IP : 202.28.27.3
Photo by :: เชียงรายพันธุ์แท้


ในฮูป กำแปงเมืองจั้นนอกของเวียงเจียงใหม่ แถวๆปะตู๋ไหยา บ่าเดียวมีคนเข้าไปแป๋งบ้านจับจองที่ดิน ทรุดโทรมสุดๆ

กำแพงเมืองชั้นนอก
นอกจากกำแพงเมืองชั้นในแล้ว เมืองเชียงใหม่ยังมีกำแพงเมืองชั้นนอกรูปพระจันทร์เสี้ยว หรือที่รู้จักชื่อ กำแพงดิน โอบล้อมไว้ เริ่มตั้งแต่แจ่งศรีภูมิด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือเลียบตามลำน้ำแม่ข่าลงมา ด้านทิศตะวันออกและทิศใต้ มาบรรจบกับกำแพงเมืองชั้นในที่แจ่งกูเฮือง บริเวณกำแพงเมืองเชียงใหม่ด้านนอกมีประตูเมืองสำคัญอยู่ ๕ ประตู คือ ประตูช้างม่อย อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเมือง ในอดีตถนนช้างม่อยเก่าเป็นเส้นทางโบราณผ่านหมู่บ้านเชียงเรือกไปวัดหนองหล่ม แล้วไปสิ้นสุดที่ประตูช้างม่อย ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่กล่าวถึงประตูช้างม่อยว่า สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๖๘ เมื่อบ้านเมืองขยายตัวทางราชการได้ตัดถนนช้างม่อยใหม่ขึ้น โดยเจาะกำแพงชั้นในให้ถนนราชวิถีจากในเวียงตัดตรงสู่ถนนช้างม่อยใหม่แล้วไป ออกแม่น้ำปิง ดังนั้นชาวบ้านจึงเรียกประตูชั้นในที่เจาะใหม่ว่า ประตูช้างม่อย เพื่อแทนที่ประตูเดิมซึ่งถูกรื้อทิ้งไปในปี พ.ศ. ๒๕๑๑



ประตูท่าแพ
(คนเชียงใหม่เรียก ปะตู๋ต่าแป)
อยู่ด้านทิศตะวันออกของเมืองบริเวณหน้าวัดแสนฝาง ที่ชื่อท่าแพ เพราะเป็นทางออกสู่ท่าน้ำแม่ปิง ในสมัยพระเจ้าอินทวิชยานนท์ เรียกชื่อประตูนี้ว่า ประตูท่าแพชั้นนอก เพราะความเจริญเติบโตของเมืองชื่อของประตูท่าแพชั้นนอกจึงค่อย ๆ หายไป ประตูท่าแพจึงเหลือเพียงประตูเดียว

ประตูหล่ายแคง หรือ ประตูระแกง
อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ พบหลักฐานในตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่กล่าวถึง ประตูนี้ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๑๓ เมื่อกองทัพธนบุรียกมาล้อมเมืองเชียงใหม่ ที่ชื่อหล่ายแคง เพราะบริเวณริมคูเมืองมีลักษณะลาดเท ในสมัยต่อมาจึงเรียกเพี้ยนมาเป็น ประตูระแกง

ประตูขัวก่อม
อยู่ทางทิศใต้ ปรากฏในหลักฐานโคลงมังทรารบเชียงใหม่ว่าสร้างขึ้นอย่างน้อยในปี พ.ศ. ๒๑๕๘

ประตูไหยา หรือ หายยา
อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ในตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่กล่าวถึงประตูไหยาเป็นครั้งแรกว่า "พ.ศ. ๒๒๗๐ เมื่อเทพสิงห์ยึดเมืองเชียงใหม่จากพม่าได้บุกเข้ามาทางประตูไหยา แต่ด้วยที่ตั้งของประตูไหยาอยู่ในทิศเดียวกับประตูแสนปุง เป็นตำแหน่งกาลกิณีเมือง จึงใช้เป็นทางเคลื่อนศพมาฌาปนกิจที่สุสานหายยามาตั้งแต่โบราณ

สำหรับ สาเหตุที่ต้องสร้างกำแพงเมืองเชียงใหม่ชั้นนอกชึ้นเพื่อป้องกันกองทัพ จากกรุงศรีอยุธยา ที่มักจะยกทัพมาคุกคามเมืองเชียงใหม่บ่อยครั้ง นับตั้งแต่ปลายรัชสมัยของราชวงศ์มังรายมาแล้ว ปัจจุบันแนวกำแพงและประตูเมืองทั้งด้านในและด้านนอกยังปรากฏหลักฐานให้เห็น อยู่ในบางช่วง ส่วนบริเวณแนวกำแพงเมืองด้านนอกนั้นถูกบุกรุกจากชาวบ้านเข้าไปสร้างบ้าน เรือน จนทำให้แนวกำแพงดินพังทลายลง

เอกสารประกอบ
สรัสวดี อ๋องสกุล "ชุมชนโบราณในแอ่งเชียงใหม่ - ลำพูน",๒๕๔๓
"กำแพงเมืองเชียงใหม่" อนุสรณ์เนื่องในพิธีเปิดและฉลองประตูท่าแพ ,๒๕๒๙
บุญเสริม สาตราภัย "ล้านนาไทยในอดีต" ๒๕๒๒
สงวน โชติรัตน์ . ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่. พระนคร: คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ สำนักนายกรัฐมนตรี. ๒๕๑๖
มณี พยอมยงค์. ประเพณีสิบสองเดือน ล้านนาไทย.. (พิมพ์ครั้งที่ ๒). เชียงใหม่: ส.ทรัพย์การพิมพ์. ๒๕๓๓

ความคิดเห็นที่ 8
เชียงรายพันธุ์แท้
15 มิถุนายน 2009
20:12:16
cmu_555@hotmail.com
IP : 202.28.27.3
Photo by :: เชียงรายพันธุ์แท้


ส่วนฮูปนี้ คลองแม่ข่า คูเมืองจั้นนอกของเวียงเจียงใหม่
สีท่าจะเล่นน้ำปีใหม่บ่ได้อย่างคูเมืองจั้นใน
เป๋นต่าน้ำมันเน่าสุดๆ สองข้างตางน้ำก็มีก้าบ้านคนแป๋งอัดๆกั๋น

ความคิดเห็นที่ 9
เชียงรายพันธุ์แท้
15 มิถุนายน 2009
20:26:54
cmu_555@hotmail.com
IP : 202.28.27.3
Photo by :: เชียงรายพันธุ์แท้


แก้ฮูปครับ ฮูปแรกๆบ่มี ปะตู๋จ๊างม่อย ฮูปนี้เพิ่มหื้อละน่อ

ความคิดเห็นที่ 10
ไค่ถามเน้อ
15 มิถุนายน 2009
21:41:36
IP : 81.165.67.182
นี่ๆ เฮาขอของเจียงฮายผ่อง มีก่อกําแปงดิน ละมีแจ่งมีป้อมก่อ ขอด่วน วันนี้บ่หันออนเอ็มกะจะถามเรื่องภาษาอยู่ ใว้วันหลังปะจะถามลื้มเน้อ

ปล ขอบคุณจ๊าดนักเน้อ เดียวอ่านเจ้า

ความคิดเห็นที่ 11
หล่อเชียงราย
16 มิถุนายน 2009
08:13:03
handsome@cr.com
IP : 202.149.25.197
thank you very mud!

ความคิดเห็นที่ 12
สัมพันธ์
14 กันยายน 2009
22:38:52
samphan_chaeng@hotmail.com
IP : 125.25.139.139
ขออนุญาตนำภาพประกอบเรื่องใน "อยุทธายศล่มแล้ว ลอยสวรรค์ ลงฤๅ" ใน http://www.iseehistory.com และ http://widetalks.multiply.com และขอเชิญทุกท่าน เยี่ยมชม อ่าน แนะนำ วิจารณ์ แสดงความคิดเห็นและ ฯลฯ ได้เต็มที่ครับ

ขณะนี้เชียงรายโฟกัส ได้ย้ายไปใช้เว็บบอร์ดใหม่

ท่านสามารถเข้าไปใช้บริการได้ที่นี่ http://www.chiangraifocus.com/forums/index.php

 


"...ข้อความที่ีท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าผู้เสียหายหรือผู้ถูกพาดพิงพบเห็นข้อความใดๆ ที่พาดพิงถึงท่านจนได้รับความเสียหาย หรือข้อความที่ี่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม กรุณาแจ้งมาที่ เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบทันที ขอขอบพระคุณ.."
 

เชียงรายโฟกัส ดอทคอม ชุมชนออนไลน์ของคนเชียงราย by :http://www.ChiangraiFocus.com
ทุกความคิดเห็นสามารถส่งมาได้ที่ ChiangraiFocus@hotmail.com | หน้าแรกเว็บไซต์เชียงรายโฟกัส | หางานเชียงราย | ลงโฆษณากับเชียงรายโฟกัส