กระดานข่าวเชียงรายโฟกัส ดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย

 
Untitled Document
 
เรื่องแปลก เรื่องใหม่ สอบถามข้อมูล ประกวด แข่งขัน กิจกรรม ทุกเรื่องราวต่างๆ ในเชียงราย แนะแนวสถานศึกษา ฯลฯ
++ ข้อความที่ีท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน โปรดใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง ++

สมาชิกเข้าสู่ระบบ Username : Password : ลืมรหัสผ่าน
 ตั้งคำถามใหม่ | ตอบคำถาม | ผู้เข้าชม 2559 ครั้ง  ตอบกระทู้ 5 คำตอบ

โต้
วันที่
18 กรกฏาคม 2009
เวลา
12:24:31
tfgc2007@yahoo.co.th
IP
203.155.226.175
   

พระธาตุดอยตุงพัฒนา หรือ ทำลาย??????

Photo by ::

จากบ้านเกิดไป20 ปี กลัมาอีกครั้ง ไปนมัสการพระธาตุดอยตุง เห็นมีการบูรณะพระธาตุใหม่ จนจำไม่ได้ เอกลักษณ์เดิมๆ หายไปหมด ไม่มีความเป็นดอยตุง ทำลายศิลปสมัยพ่อขุนเม็งฯ ปัจจุบันนี้ สมบัติของผู้สร้างเมืองเชียราย ทั้งภาษา และวัฒนธรรม ถูกคนต่างถิ่นทำลายหมดแล้ว คนเชียงราย ไม่คิดรักษาหรือเอาสมบัติพ่อคุนเม็งฯคืนบ้างใหม

 


ความคิดเห็นที่ 1
โต้
18 กรกฏาคม 2009
12:28:56
tfgc2007@yahoo.co.th
IP : 203.155.226.175
Photo by ::

รูปพระธาตุ ก่อน บูรณะ

ความคิดเห็นที่ 2
โต้
18 กรกฏาคม 2009
12:33:29
tfgc2007@yahoo.co.th
IP : 203.155.226.175
Photo by ::

จะเอากลับมาอย่างไร รูปของการท่องเที่ยว กับ สภาพ ปัจจุบัน ไมตรงกัน คนมาเที่ยวจะรู้สึกอย่างไร ใช่พระธาตุจริง หรือ ไม่จริง

ความคิดเห็นที่ 3
บ่าวน้อยเมืองเทิง
18 กรกฏาคม 2009
13:05:35
IP : 124.120.17.76
Photo by ::

(พระธาตุดอยตุงสององค์ สมัยครูบาศรีวิชัยเป็นผู้ออกแบบตามศิลปะล้านนา) เป็นเวลานานกว่าสองเดือนที่ตุ๊เจ้าวัดพระธาตุดอยตุงเริ่มคุ้นชินกับภาพขององค์พระธาตุในโอบล้อมของฉากกั้นป้องกันอันตราย และกั้นสายตาของผู้มีจิตศรัทธาทั้งหลายที่มานมัสการพระธาตุบนยอดดอยอยู่ทุกขณะ ทั้งยังคุ้นตาบรรดานายช่างผู้ขมีขมันบูรณะองค์พระธาตุอยู่ในระหว่างนี้ อากาศบนยอดดอยเย็นเยียบตลอดทั้งปี นานทีจึงจะมีแสงแดดส่องลอดปลีเมฆลงกระทบองค์พระธาตุ เช่นเช้าแรกที่เหล่านายช่างเตรียมลงมือกะเทาะเปลือกเจดีย์องค์นอก วันนั้นเป็นวันเสาร์ ฝนเทลงมาตลอดวัน ทั้งเครื่องมือกลไกในการกะเทาะก็ติดขัด ต้องปรับแก้แบบ คณะช่างไม่สามารถปฏิบัติงานได้ เหล่านั้นล้วนเป็นไปตามคำทักของตุ๊เจ้าที่ว่าวันเสาร์ฤกษ์ไม่ดี ให้รอเวลาไปอีกวันหนึ่ง พร้อมแนะให้คณะช่างถวายเครื่องบูชาองค์พระธาตุเป็นการบอกกล่าวเสียก่อน เมื่อคณะช่างผู้รับงานจากกรมศิลปากรดำเนินการทุกอย่างตามคำแนะนำนั้น วันต่อมาพวกเขาจึงสามารถปฏิบัติการกะเทาะยอดเจดีย์ได้สำเร็จ ทันทีที่คมเลื่อยบนรางซึ่งปรับแบบมาสำหรับวัตถุทรงโค้งสัมผัสบนผิวเจดีย์ แดดแรงก็เบียดเมฆครึ้มพลิ้วไปกับสายลมอ่อน จนเมื่อดับเครื่องเลื่อยเพื่อขยับรางไปยังตำแหน่งใหม่ แดดก็หุบกลับ คล้ายรอให้นายช่างตั้งรางเรียบร้อยแล้วจึงค่อยเปิดทางสว่างอีกครั้ง เป็นเช่นนี้จนคณะนายช่างจัดการเลื่อยยอดเจดีย์จนครบวงรอบ สิ่งศักดิ์สิทธิ์บันดาลให้การบูรณะปฏิสังขรณ์พระธาตุดอยตุง พ.ศ.2550 เป็นไปอย่างเรียบร้อย พระบรมธาตุดอยตุงตั้งอยู่บริเวณวัดพระธาตุดอยตุง ต.ห้วยไคร้ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย มีถนนเส้นเล็กๆ แยกจากบ้านห้วยไคร้ขึ้นไปจนถึงองค์พระบรมธาตุ ตามตำนานเล่าว่าเดิมสถานที่แห่งนี้มีชื่อว่าดอยดินแดง อยู่บนเขาสามเส้นของกลุ่มลาวจก ในสมัยพระเจ้าอุชุตะราช กษัตริย์องค์ที่ 3 แห่งราชวงศ์สิงหนวัต ผู้ครองโยนกนาคนคร ราวปี 1452 พระมหากัสสปได้นำพระบรมสารีริกธาตุส่วนพระรากขวัญเบื้องซ้าย(ไหปลาร้า) ของพระพุทธเจ้ามาถวาย ตามคำทำนายของพระพุทธองค์ว่า "ดอยดินแดงแห่งนี้ ต่อไปจะเป็นที่ประดิษฐานพระมหาสถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุในภายภาคหน้า" พระเจ้าอุชุตะราชมีพระราชศรัทธา ได้เรียกหัวหน้าลาวจกมาเฝ้า พระราชทานทองคำจำนวนแสนกษาปณ์ ให้เป็นค่าที่ดินบริเวณดอยดินแดงแก่พวกเขา แล้วทรงสร้างพระสถูปขึ้น โดยนำธงตะขาบยาว 3,000 วา ไปปักบนดอย เมื่อหางธงปลิวไปไกลเพียงใด ให้กำหนดเป็นฐานพระสถูปเพียงนั้น ดอยดินแดงจึงได้ชื่อใหม่ว่าดอยตุง (ตุงแปลว่าธง) เมื่อสร้างพระสถูปเสร็จ จึงนำพระบรมสารีริกธาตุบรรจุไว้ ครั้นสมัยพระเจ้าเม็งรายมหาราช แห่งราชวงศ์ลาวจก พระมหาวชิระโพธิเถระได้นำพระบรมสารีริกธาตุมาถวายจำนวน 50 องค์ พระเจ้าเม็งรายโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุขึ้นอีกองค์หนึ่ง เหมือนกับพระเจดีย์องค์เดิมทุกประการเพื่อตั้งคู่กัน พระธาตุดอยตุงจึงมีพระเจดีย์คู่จนถึงทุกวันนี้ และเนื่องจากปู่เจ้าลาวจกกับพระยาเม็งราย ต้นวงศ์กษัตริย์เชียงใหม่ต่างก็ประสูติในปีกุญ (หรือปีกุน) พระธาตุดอยตุงจึงถือเป็นพระธาตุประจำปีเกิดของคนปีกุน พ.ศ.2470 ครูบาศรีวิชัยได้ทำการบูรณะองค์พระธาตุในแบบล้านนา กล่าวคือเป็นเจดีย์ก่ออิฐสอปูน ทรงระฆัง 8 เหลี่ยม ตั้งบนฐานปัทม์(บัว) 8 เหลี่ยม ประดับลูกแก้วอกไก่ 1 ชิ้น ฐานล่างสี่เหลี่ยมจตุรัสลด 3 ชั้น องค์ระฆังและบัลลังก์ 8 เหลี่ยมรองรับปล้องไฉน มีปลียอดประกอบฉัตร 5 ชั้น ต่อมาในปี 2516 ในยุคเผด็จการทหารเรืองอำนาจ ผู้นำสมัยนั้นได้สั่งการให้ปรับเปลี่ยนแบบเจดีย์องค์พระธาตุดอยตุง จากรูปแบบสถาปัตยกรรมล้านนามาใช้แบบของส่วนกลาง โดยมอบหมายให้ อ.ประกิต (จิตร) บัวบุศย์ เป็นผู้ออกแบบและควบคุมการก่อสร้าง อ.จิตรนั้นเป็นผู้มีใจอนุรักษ์และเคารพในศิลปกรรมท้องถิ่น เมื่อได้รับคำสั่งที่ไม่อาจปฏิเสธ ท่านจึงได้คิดค้นวิธีการเปลี่ยนแบบโดยอนุรักษ์สถาปัตยกรรมแบบดั้งเดิมไว้ด้วย ท่านตัดสินใจใช้วิธีหล่อคอนกรีตมาประกอบครอบเจดีย์คู่ทั้งสององค์ นับแต่นั้นพระธาตุดอยตุงจึงมีรูปโฉมเป็นเจดีย์ทรงปราสาท สมัยต้นรัตนโกสินทร์ เป็นที่คุ้นตาผู้มีจิตศรัทธาเรื่อยมา ก่อนที่จะมีการบูรณะใหม่ใน พ.ศ.นี้ เพื่อกลับไปใช้รูปแบบสถาปัตยกรรมท้องถิ่นล้านนาซึ่งถูกครอบทับอยู่ภายใน ช่วงประมาณสองเดือนก่อน มีข่าวว่ากรมศิลปากรได้จัดประชุมร่วมกับชาวบ้าน จ.เชียงราย จนได้ข้อยุติว่าจะทำการบูรณะโดยเลาะเจดีย์องค์ปัจจุบันออก โดยชาวบ้านได้สอบถามว่าเจดีย์ที่เลาะออกนั้นจะดำเนินการอย่างไร เพราะอย่างไรเสียชาวบ้านและนักท่องเที่ยวต่างชินกับองค์พระธาตุนี้แล้วแม้จะไม่ใช่องค์ดั้งเดิมก็ตาม ทางเจ้าคณะอำเภอจึงแนะนำว่า ให้นำองค์พระธาตุที่เลาะออกแล้วไปประดิษฐานที่วัดน้อยดอยตุง บริเวณด้านล่าง ก่อนขึ้นถึงพระธาตุดอยตุง เกี่ยวกับความเป็นมาของโครงการบูรณะพระธาตุดอยตุงนั้น อารักษ์ สังหิตกุล อธิบดีกรมศิลปากร ชี้แจงว่ากรมศิลปากรบรรจุโครงการดังกล่าวไว้เป็นส่วนหนึ่งในวาระเฉลิมฉลองพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงครองราชย์ครบ 60 ปี ในปี 2549 "โครงการแรกเริ่มใช้งบกลางประมาณ 22 ล้าน เมื่อปี 2549 เหตุผลที่ต้องบูรณะอีกประการที่สำคัญคือมีการเปลี่ยนแปลงทางสถาปัตยกรรม เมื่อก่อนพื้นที่อยู่ในพื้นที่ล่อแหลม สมัยนั้นคงอยากใช้สถาปัตยกรรมที่แสดงความเป็นไทยแล้วก็เลือกแบบของภาคกลางไปใช้ ซึ่งจริงๆ ในแง่การอนุรักษ์เป็นปรัชญาที่ไม่ค่อยถูกนักเพราะการที่จะรื้อฟื้นวัฒนธรรม ต้องยอมรับวัฒนธรรมท้องถิ่นที่หลากหลาย เดิมเป็นสถาปัตยกรรมล้านนา เมื่อเรารู้ว่าแบบที่เป็นอยู่ไม่ถูกต้อง ก็ได้รื้อฟื้นให้กลับไปสู่สถาปัตยกรรมล้านนาแบบเก่า" นอกจากบูรณะองค์พระธาตุแล้วยังบรรจุแผนปรับปรุงภูมิทัศน์ไว้ด้วย "ปี 2551 เราตั้งงบไปประมาณ 28 ล้าน เพื่อทำเรื่องพระอุโบสถ ซึ่งยังเป็นสถาปัตยกรรมแบบภาคกลางก็จะปรับปรุงให้กลับเป็นแบบล้านนา แล้วก็จะสร้างศูนย์ข้อมูลที่ลานด้านล่าง คือผู้มีจิตศรัทธาหรือนักท่องเที่ยวมาแล้วอาจเข้าไปหาข้อมูลในศูนย์นี้ก่อน แล้วค่อยขึ้นไปนมัสการพระธาตุ ผมอยากเน้นว่าถึงจะเป็นเรื่องความหลากหลายของวัฒนธรรมท้องถิ่น แต่พระธาตุองค์นี้ก็เป็นสมบัติของคนไทยทุกคน เป็นวัฒนธรรมของชาติไทย คนในชาติทุกคนมีสิทธิร่วมกันในการดำเนินการ" " ก่อนหน้านี้มีศิษยานุศิษย์ของวัดท่าซุงได้บริจาคเงินไว้ เขาเสนอว่าจะเป็นไปได้มั้ยถ้าจะขอหุ้มทองจังโก คือเอาแผ่นโลหะมาบุดุนตามลวดลายองค์พระธาตุแล้วปิดทององค์เดิม ผมก็ส่งเรื่องไปให้ทางฝ่ายวิชาการพิจารณาในแง่ความถูกต้องว่าทำได้มั้ย ดูแล้วเป็นทรงแบบรูปบัว ไม่มีประติมากรรมติดที่ ก็คิดว่าน่าจะเป็นไปได้ ผู้สนับสนุนก็บอกว่าให้คิดเป็นเงินมาเลยว่าถ้าทำได้ต้องใช้เงินเท่าไร อยากจะบริจาคเต็มที่" อธิบดีอารักษ์กล่าว จุมภฏ ตรัสศิริ นายช่างโยธา 7 สำนักโบราณคดี กรมศิลปากร ผู้ควบคุมการบูรณะพระธาตุดอยตุง เล่าว่าประมาณ 4 ปีก่อน มูลนิธิมีชัย ฤชุพันธุ์ ได้ศึกษาพบว่าพระธาตุองค์ปัจจุบันสร้างครอบพระธาตุแบบล้านนาสมัยครูบาศรีวิชัย จากนั้นจึงเสนอเรื่องให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงรายพิจารณา ผู้ว่าฯ ได้ตั้งกรรมการโครงการอนุรักษ์โบราณสถานพระธาตุดอยตุงกลับคืนสู่สมัยล้านนา มีการจัดประชุมหลายรอบจนได้ข้อยุติ ให้กรมศิลปากรเป็นผู้จัดงบประมาณการบูรณะ "ผมเป็นกรรมการฝ่ายวิชาการก็ได้ไปพบท่านอาจารย์จิตรเพื่อหารือและขออนุญาตรื้อแบบของท่าน ท่านก็กรุณามาก ไม่ติดใจ และยังหอบอัลบั้มภาพสมัยที่ท่านทำการบูรณะเมื่อปี 2516 ให้อีก ท่านว่าเขาสั่งมาก็ต้องทำ อัลบั้มภาพของท่านมีภาพเจดีย์ทรงล้านนาเดิมด้วย ท่านบอกว่าท่านออกแบบเป็นทรงปราสาท สไตล์รัชกาลที่ 3 กรุงรัตนโกสินทร์ มีซุ้ม 4 ด้าน" ในฐานะนายช่างสถาปัตยกรรม จุมภฏยอมรับว่าอาจารย์จิตรนั้นมีฝีมือเยี่ยมยอด สมกับตำแหน่งศิลปินแห่งชาติ "อาจารย์จิตรท่านเก่งมาก ท่านหล่อเป็นชั้นๆ แล้วไปประกอบปั้นพิมพ์ปูนปั้นบัวหงายบัวคว่ำ แล้วทำไม้แบบกั้นด้านใน จากนั้นก็ลงปูน บางช่วงแนบสนิท บางช่วงมีช่องว่างขนาดคนเดินลอดได้ ผมเข้าไปดูยังเห็นทองที่ปิดพระธาตุองค์เดิมอยู่เลย แบบของอาจารย์จิตรนั้นทำหุ้มของเดิม ไม่ได้ทำลายของเดิมแม้แต่น้อย ถือว่าเป็นการเปลี่ยนแบบและอนุรักษ์ไปในตัว" ประมาณกลางเดือนกรกฎาคม 2550 คณะนายช่างทำการตัดเลาะเจดีย์ออก เริ่มต้นจากส่วนยอดไล่ลงมาจนถึงฐาน ใช้เวลาประมาณ 4 สัปดาห์ นอกจากนี้ยังมีการขุดตรวจชั้นดินทางโบราณคดี พบร่องรอยหลักฐานซากพระเจดีย์พระธาตุสมัยก่อนครูบาศรีวิชัยอีกด้วย "ผลการขุดตรวจสอบพบร่องรอยพระธาตุดอยตุงรุ่นแรกอยู่ใต้ดินลึกไปอีก 2 เมตร เป็นฐานสี่เหลี่ยมผืนผ้า สมัยแรกนี้พังทลายลงเหลือแต่ฐานสี่เหลี่ยม แสดงว่าแรกทีเดียวพระธาตุมี 1 องค์ แล้วมีการสร้างวิหารเล็กๆ อยู่ด้านข้างอีก 1 องค์ ต่อมาถึงได้มีการสร้างเจดีย์เพิ่มอีก 1 องค์ เป็น 2 องค์ แล้วถึงเป็นรุ่นครูบาศรีวิชัยมาสร้างฐานหุ้มอีกประมาณ พ.ศ.2470 ไล่มาถึงสมัยอาจารย์จิตรในปี 2516 หลังจากอาจารย์จิตรถึงมีการสร้างต่อเติมโบสถ์ต่อจากวิหารองค์เดิม ดูลักษณะสถาปัตยกรรมแล้ว อายุไม่เกิน 30 ปี" รายละเอียดในการเลาะองค์เจดีย์นั้น ทางห้างหุ้นส่วนจำกัดฐานอนุรักษ์เป็นผู้รับงานนี้ "เราต้องออกแบบเครื่องมือที่ใช้ถอดชิ้นส่วนพระธาตุใหม่ ต้องทำรางสำหรับตัดโดยเฉพาะ เพราะพระธาตุมีความเว้าโค้ง ต้องค่อยๆ เลื่อนรางตัดออกทีละรอยจนครบรอบประมาณ 8 ครั้ง เริ่มจากถอดบนยอดเจดีย์ก่อน วางแผนไว้ว่าจะตัดให้ได้ 19 ชิ้น ชิ้นละประมาณ 500 กิโลกรัม เราต้องตัดต่อโครงสร้างคอนกรีตให้ตรงเพื่อชาวบ้านอาจนำไปประกอบเป็นองค์ใหม่ตามต้องการ หรือถ้าท้องถิ่นไม่ต้องการ จะนำไปจัดแสดงนิทรรศการ บอกพัฒนาการความเป็นมาของการสร้างพระธาตุก็ได้ เราตั้งใจทำให้ดี ต้องบอกกล่าวไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ก่อนลงมือ" ปัจจุบันนี้ พระธาตุเจดีย์แบบล้านนาสมัยครูบาศรีวิชัยเผยโฉมให้เห็นเต็มทั้งสององค์แล้ว หลังจากถูกซ่อนอยู่ภายในมานานถึง 34 ปี "เจดีย์สมัยครูบาสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ เป็นปูน คลส.หุ้มอยู่ ขาดแต่หัวเม็ดน้ำค้างบนปลียอดเท่านั้น เรายังพบว่าด้านในมีร่องรอยของพระธาตุยุคก่อนหน้านั้นซ้อนอยู่อีก 2 ยุค แต่ยังไม่ชัดเจน ตอนนี้นักโบราณคดีกับช่างอนุรักษ์กำลังมาขุดค้นด้านหลังของพระธาตุ" จุมภฎเผยด้วยว่างานในช่วงต่อไปเป็นการปฏิสังขรณ์องค์พระธาตุในปัจจุบัน หรือพระธาตุแบบล้านนาสมัยสมัยครูบาศรีวิชัยให้สมบูรณ์ดังเดิม คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนธันวาคมปีนี้ รวมถึงการปรับปรุงภูมิทัศน์ต่างๆ ได้แก่ ทุบศาลาทิ้งเพื่อปรับเป็นพื้นที่สีเขียว "เราจะคงวิหารเดิมไว้ วิหารตอนนี้กลายเป็นโบสถ์ไปแล้ว วิหารนี้น่าจะเก่าแก่ก่อนสมัยครูบาศรีวิชัย ภาพโบราณสมัยครูบาจะเห็นวิหารเหลือแต่ผนังด้านเดียว ท่านครูบาก็ไม่ได้ปรับปรุงอะไร แต่มุงด้วยวัสดุชั่วคราวเป็นสังกะสี นี่เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่จะอนุรักษ์ไว้ พอถึงปีงบประมาณ 2551 คงสามารถเปิดศูนย์ข้อมูลได้" ถึงวันนี้ใครที่เดินทางขึ้นดอยตุงเพื่อนมัสการพระธาตุดอยตุงคงได้สัมผัสกับองค์เจดีย์คู่โฉมเดิมที่มีอายุยาวนาน 80 ปีแล้ว เป็นองค์พระบรมธาตุดอยตุงแบบล้านนาสีทองอร่าม ท่ามกลางสายหมอกแห่งดอยดินแดง http://www.oknation.net/blog/print.php?id=106377

ความคิดเห็นที่ 4
บ่าวน้อยเมืองเทิง
18 กรกฏาคม 2009
13:23:05
IP : 124.120.17.76
เป็นการหาข้อมูลบ้างส่วนเท่านั้น ครับ

ถ้ามองเรื่องการท่องเที่ยวกับภาพองค์เจดีย์ปัจจุบันก็คงต่างกัน

ผลกระทบไม่มีใครสามาถคาดการณ์ได้ แต่สิ่งที่สำคัญกว่าคือ คุณค่าภายในว่า

พระธาตุดอยตุง คือพระบรมธาตุปฐมเจดีย์แห่งล้านนา ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้า

คุณค่าอยู่ที่จิตใจชาวพุทธ ถ้าทุกคนศรัทธาในพระพุทธศาสนามากว่า วัตถุผมว่า

พระธาตุดอยตุงก็ คือสิ่งศักดิ์สิทธ์ พระธาตุประจำเป็นเกิดของคนปีกุน และพุทธสากนิกชนที่ศรัทธา

มา กราบไหว้ ครับ

สาธุ...

ความคิดเห็นที่ 5
บ่าวน้อยเมืองเทิง
18 กรกฏาคม 2009
13:29:36
IP : 124.120.17.76
นายอารักษ์ สังหิตกุล อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวความเป็นมาของพระธาตุดอยตุง ว่า ในตำนานพื้นเมืองสิงหนวัติ ระบุว่า สร้างในสมัยพระเจ้าอนุตราช แห่งราชวงศ์สิงหนวัติมาร เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุส่วนพระรากขวัญเบื้องซ้าย หรือกระดูกไหปลาร้า ที่อัญเชิญมาจากประเทศอินเดียในเวลานั้นมาประดิษฐานดอยดินแดงหรือดอยตุงปัจจุบัน อย่างไรก็ตามหลักฐานที่เกี่ยวกับประวัติพระพุทธศาสนา รวมถึงหลักฐานทางสถาปัตยกรรมและศิลปกรรม พระธาตุดอยตุงน่าจะสร้างในยุคกษัตริย์ราชวงศ์มังรายแห่งอาณาจักรล้านนา ราวพ.ศ.1805-2101 หรือราว 700 ปีมาแล้ว ต่อมาในปี พ.ศ.2470 พระครูบาศรีวิชัย นักบุญที่เคารพศรัทธาของชาวล้านนาได้ขึ้นมาดอยตุง เห็นพระธาตุนี้อยู่ในสภาพเสื่อมโทรมจึงได้ทำการบูรณะตามสถาปัตยกรรมท้องถิ่นล้านนา กระทั่งปี พ.ศ.2516 ได้มีการบูรณะขึ้นใหม่อีกครั้ง โดยกระทรวงมหาดไทยมอบหมายให้ ศ.จิตต์ บัวบุศย์ ออกแบบสร้างพระเจดีย์ใหม่ที่ตั้งอยู่ปัจจุบันครอบลงบนองค์พระธาตุเดิม

นายอารักษ์ กล่าวต่อว่า ต่อมาคณะสงฆ์ และผู้เกี่ยวข้องหลายท่าน อาทิ ม.ร.ว.ดิศนัดดา ดิศกุล เลขาธิการมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง นายคำรณ บุญเชิด ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงรายในเวลานั้น รวมถึงประชาชนจังหวัดเชียงราย มีความเห็นว่าพระธาตุที่สร้างขึ้นใหม่นี้ ไม่ใช่รูปแบบสถาปัตยกรรมล้านนา จึงมีความประสงค์ให้มีการบูรณะซ่อมแซมกลับสู่สภาพสถาปัตยกรรมดั้งเดิม ทางกรมศิลปากรจึงได้ประสานกับ ศ.จิตต์ ผู้ออกแบบ ยินดีให้ดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของคนท้องถิ่น พร้อมกับให้ข้อมูลนำมาศึกษาเพิ่มเติม การบูรณะพระธาตุดอยตุงครั้งนี้ เป็นโครงการหนึ่งตามแผนงานบูรณะโบราณสถานที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล เนื่องในวโรกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี และเพื่อเฉลิมฉลองในวโรกาสทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 80 พรรษา โดยนายสหวัฒน์ แน่นหนา ผอ.สำนักโบราณคดีเชียงใหม่ ดูแลดำเนินการบูรณะให้เสร็จทันก่อนวันที่ 5 ธันวาคม 2550 ใช้งบประมาณ 22 ล้านบาท

ด้านนายคำรณ บุญเชิด อดีตผู้ว่าฯ เชียงราย กล่าวถึงนำพระธาตุองค์ปัจจุบันตั้งประดิษฐานที่ใหม่ว่า องค์พระธาตุดอยตุงเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวล้านนาและเพื่อนบ้าน หลังจากถอดองค์พระธาตุนี้เสร็จเรียบร้อยแล้ว นำไปประดิษฐานเป็นที่เคารพสักการะอีกแห่งหนึ่ง เท่ากับคนท้องถิ่นได้พระธาตุของเดิมกลับคืนมาและของปัจจุบันอีกด้วย

http://www.matichon.co.th/khaosod/kh...day=2006/12/21

ขณะนี้เชียงรายโฟกัส ได้ย้ายไปใช้เว็บบอร์ดใหม่

ท่านสามารถเข้าไปใช้บริการได้ที่นี่ http://www.chiangraifocus.com/forums/index.php

 


"...ข้อความที่ีท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าผู้เสียหายหรือผู้ถูกพาดพิงพบเห็นข้อความใดๆ ที่พาดพิงถึงท่านจนได้รับความเสียหาย หรือข้อความที่ี่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม กรุณาแจ้งมาที่ เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบทันที ขอขอบพระคุณ.."
 

เชียงรายโฟกัส ดอทคอม ชุมชนออนไลน์ของคนเชียงราย by :http://www.ChiangraiFocus.com
ทุกความคิดเห็นสามารถส่งมาได้ที่ ChiangraiFocus@hotmail.com | หน้าแรกเว็บไซต์เชียงรายโฟกัส | หางานเชียงราย | ลงโฆษณากับเชียงรายโฟกัส