กระดานข่าวเชียงรายโฟกัส ดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย

 
Untitled Document
 
ห้องนี้เตรียมไว้สำหรับ เรื่องทั่วไป ประกาศงาน หางาน แนะนำธุรกิจบริการ แนะนำเว็บไซต์ หรือไม่รู้ว่ากระทู้ตนเองควรจะอยู่ห้องไหน (หากโพสผิดที่ ผู้ดูแลเว็บ จะย้ายให้ตามความเหมาะสม)
++ ข้อความที่ีท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน โปรดใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง ++

สมาชิกเข้าสู่ระบบ Username : Password : ลืมรหัสผ่าน
 ตั้งคำถามใหม่ | ตอบคำถาม | ผู้เข้าชม 425 ครั้ง  ตอบกระทู้ 1 คำตอบ

เสี่ยวเอ้อ
วันที่
08 มีนาคม 2009
เวลา
11:46:27
IP
202.176.126.27
   

น้ำแข็งอาร์กติกมีโอกาสละลายจนหมดในปี 2556

นักวิทยาศาสตร์สำรวจพื้นที่คาบสมุทรอาร์กติก ตอนเหนือของแคนาดา พบ ก้อนน้ำแข็งจำนวนมากกำลังละลาย อุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้น 15 องศา คาดน้ำแข็งในเขตนี้มีโอกาสละลายจนหมดใน พ.ศ. 2556 (ค.ศ.2013) และระดับน้ำที่สูงขึ้นเนื่องจากน้ำแข็งละลายในตอนนี้ส่งผลให้การเดินเรือสายเอเชีย-ยุโรป ไม่สามารถใช้เส้นทางทะเลเหนือได้

จาก การศึกษาครั้งล่าสุดเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิโลกบอกว่า คาบสมุทรอาร์กติกบริเวณขั้วโลกเหนือกำลังร้อนขึ้นอย่างรวดเร็วจนอาจทำให้น้ำ แข็งที่ปกคลุมอยู่ละลายลงจนหมดในปี 2556 ซึ่งเร็วกว่าที่เคยคาดการกันเอาไว้ถึงสิบปี

วอร์วิ ค วินเซนท์ ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาพื้นที่เขตตอนเหนือจากมหาวิทยาลัยลาวัลในเมืองควิเบก กล่าวว่า ข้อมูลชุดนี้ "ดูเหมือนจะติดตามร่องรอยจากโมเดลที่มองโลกในแง่ร้ายที่สุด" เขายังกล่าวกับสำนักข่าวรอยเตอร์อีกว่า "การพูดถึงเหตุที่จะเกิดขึ้นในปี 2556 เริ่มถูกมองว่าอย่างเป็นเหตุเป็นผลมากกว่าเป็นการทำนาย"


"แต่ทุกปีๆ เราก็คาดผิดมาตลอด ทุกปีที่ผ่านมาเรามักจะพบว่ามันจะเกิดขึ้นเร็วกว่าที่เราคาดทีละเล็กละน้อยเสมอ" วินเซนท์กล่าว


ความเสียหายที่ไม่อาจหยุดยั้ง

มีทีมนักวิทยาศาสตร์จำนวนหนึ่งใช้เวลาสิบปีก่อนหน้านี้อยู่ในเกาะ วอร์ด ฮันท์ เกาะที่อยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือห่างออกไป 4 พันกิโลเมตร จากเมืองออตตาวา ประเทศแคนาดา นักวิทยาศาสตร์ทีมนี้ศึกษาเกี่ยวกับน้ำแข็งที่ปกคลุมอยู่ช่วงฤดูร้อนในคาบ สมุทรอาร์กติกของแคนาดา ห่างจากขั้วโลกเหนือไม่มากนัก


หลัง จากที่วินเซนท์ได้รายงานสิ่งที่ค้นพบให้กับรัฐสภาฟังแล้ว เขาก็บอกว่า "ผมแปลกใจว่าทำไมการเปลี่ยนแปลงถึงเกิดขึ้นเร็วมาก สิ่งที่เราไม่เคยพบมาก่อนเลยในช่วงที่ผมทำงานเมื่อสิบปีที่ผ่านมาคือ การที่แหล่งน้ำตามธรรมชาติมีการขยายตัวขึ้น"


"พวก เรากำลังพ่ายแพ้ อย่างไม่มีทางหวนกลับ สิ่งที่เกิดขึ้นกับพื้นน้ำแข็งของแคนาดากำลังแสดงให้เห็นให้เห็นว่า โมเดลที่มองในแง่ร้ายที่สุดนี้เริ่มเข้าใกล้ความจริงเข้าไปทุกที"


ขั้วโลกเหนือมีอุณหภูมิเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าเมื่อเทียบกับที่อื่นในโลก และพื้นที่น้ำแข็งที่ปกคลุมทะเลอยู่ก็ลดจำนวนลงมากในปี 2550 ก่อนจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในปี 2551



นักวิจัยบอกว่าความเสียหายบางอย่างจะคงอยู่ตลอดไป และการที่ขั้วโลกเหนือร้อนขึ้นก็เป็นสิ่งบ่งชี้อะไรบางอย่างที่ทั่วทั้งโลกนึกถึง



"มี ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมบางอย่างที่ไม่อาจหยุดยั้งได้ พวกเราอยู่ในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นต่อเนื่องกัน เมื่อใดก็ตามที่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น เมื่อนั้นเราก็ไม่อาจย้อนกลับไปได้ ตัวอย่างเช่น การที่ก้อนน้ำแข็งเหล่านี้สูญไป" วินเซนท์กล่าว



"แต่ สิ่งที่เราทำได้คือการทำให้กระบวนการนี้ช้าลง และเราก็ควรจะทำให้มันช้าลง เพราะว่าเราต้องการจะยื้อเวลาไว้มากกว่านี้ พวกเราไม่มีเทคโนโลยีที่จะเป็นอารยธรรมสำหรับต่อกรกับความไม่มั่นคง ซึ่งกำลังจะเกิดกับเราในวันข้างหน้า"



ในปี 2547 คณะปฏิบัติงานหลักของนานาชาติ พยากรณ์ว่าพื้นที่ที่เป็นน้ำแข็งปกคลุมจะหายไปภายในปี 2643 ส่วนในเดือนธันวาคมปีที่ผ่านมาผู้เชี่ยวชาญบางคนกล่าวว่าน้ำแข็งในฤดูร้อนจะหมดไปภายใน 10 หรือ 20 ปี





ข้อสรุปที่สำคัญ

แล ร์รี่ ฮินซ์แมน ผู้อำนวยการจากศูนย์วิจัยขั้วโลกเหนือนานาชาติใน อลาสก้า บอกกับสำนักข่าว อัล จาซีรา ว่า งานศึกษาชิ้นล่าสุดนี้ เป็นไปในแนวทางเดียวกับที่นักวิทยาศาสตร์คนอื่น ๆ ค้นพบ



"งาน ศึกษาชิ้นนี้สอดคล้องกับ งานสังเกตการณ์การลดลงของจำนวนน้ำแข็ง ถ้าน้ำแข็งละลายไปจริง เช่นที่ในรายงานนำเสนอไว้ มันจะกลายเป็นข้อสรุปที่สำคัญได้เลย" ฮินส์แมนกล่าว "หากน้ำแข็งในทะเลละลาย ก็จะทำให้มหาสมุทรดูดซับความร้อนไว้มากขึ้นกว่าเดิมด้วย"



ในปี 2551 อุณหภูมิสูงสุดในวอร์ด ฮันท์ เขตขั้วโลกเหนือช่วงฤดูร้อนสูงถึง 20 องศาเซลเซียส เมื่อเทียบกับปกติแล้วจะมีอุณหภูมิสูงสุดเพียง 5 องศาเซลเซียสเท่านั้น



ในฤดูร้อนปีที่ผ่านมาแผ่นน้ำแข็ง 5 ก้อน ในเขตเกาะเอลส์แมร์ ทางตอนเหนือของแคนาดา จมลงไปกว่า 23 เปอร์เซ็นต์ ก้อนน้ำแข็งเหล่านี้มีอายุกว่า 4,000 ปีแล้ว



"เมื่อ ขั้วโลกเหนือร้อนขึ้น เช่นเดียวกับทั่วโลกที่ร้อนขึ้น ก็จะทำให้เกิดผลที่ตามมา ดังที่เราได้เห็นกันแล้วว่าระดับน้ำทะเลบางแห่งสูงขึ้น" ฮินท์แมนกล่าว "ตอนนี้เรือส่วนใหญ่ที่มีเส้นทางเดินเรือระหว่างเอเชียกับยุโรปต้องเปลี่ยน เส้นทางเดินเรือไปเป็นผ่านคลองปานามา หรือผ่านในแถบปลายแอฟริกาใต้"



"หาก เส้นทางทะเลเหนือเปิดให้ใช้ได้ มันจะเป็นเส้นทางที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการเดินเรือระหว่างเอเชียกับยุโรป ... เรื่องนี้จะเป็นเรื่องที่ส่งผลกระทบมากและมีผลกับคนทั้งโลก"



จน ถึงปัจจุบัน บริษัทเดินเรือได้สั่งเลื่อน การใช้เส้นทางลัดผ่านแถบขั้วโลกเหนือแล้ว ซึ่งในเขตเดียวกันก็เป็นเขตที่เป็นแหล่งเก็บน้ำมันและก๊าซธรรมชาติจำนวน มหาศาล

 


ความคิดเห็นที่ 1
tann
19 มิถุนายน 2009
16:06:18
tan_dd@windowslive.com
IP : 124.121.9.234
Photo by :: tann

ถ้าเป็นอย่างที่กล่าวมานั้นจริงๆ แล้วเราจะยังแก้ปัญหาที่กำลังจะเกิดขึ้นในอีกไม่กี่ปีได้หรือเปล่า
ถ้าไม่ได้แล้ว แล้วมหันตภัยที่กำลังจะเกิดขึ้นจะรุนแรงแค่ไหน แล้วจะมีผลกระทบต่อโลกของเราอย่างไรบ้างครับ

ขณะนี้เชียงรายโฟกัส ได้ย้ายไปใช้เว็บบอร์ดใหม่

ท่านสามารถเข้าไปใช้บริการได้ที่นี่ http://www.chiangraifocus.com/forums/index.php

 


"...ข้อความที่ีท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าผู้เสียหายหรือผู้ถูกพาดพิงพบเห็นข้อความใดๆ ที่พาดพิงถึงท่านจนได้รับความเสียหาย หรือข้อความที่ี่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม กรุณาแจ้งมาที่ เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบทันที ขอขอบพระคุณ.."
 

เชียงรายโฟกัส ดอทคอม ชุมชนออนไลน์ของคนเชียงราย by :http://www.ChiangraiFocus.com
ทุกความคิดเห็นสามารถส่งมาได้ที่ ChiangraiFocus@hotmail.com | หน้าแรกเว็บไซต์เชียงรายโฟกัส | หางานเชียงราย | ลงโฆษณากับเชียงรายโฟกัส