เหนือสุดในสยาม ชายแดนสามแผ่นดิน ถิ่นวัฒนธรรมล้านนา ล้ำค่าพระธาตุดอยตุง
 

  โฟกัสที่เที่ยว : แหล่งท่องเที่ยว จ.เชียงราย
   Chiang Rai Attractions .. [Eco-tourism, Agro-tourism, Conservation tourism, Historical tourism, Cultural tourism, Helath tourism]
คลิปท่องเที่ยวเชียงราย
อัลบั้มภาพท่องเที่ยว
ข้อมูลผ่านแดนไปประเทศเื่พื่อนบ้าน
อ. เมือง    อ. เชียงของ    อ. เชียงแสน    อ. เวียงแก่น    อ. เวียงชัย    อ. เวียงป่าเป้า    อ. เวียงเชียงรุ้ง    อ. เทิง    อ. แม่จัน    อ. แม่ฟ้าหลวง    อ. แม่สาย    อ. แม่สรวย    อ. แม่ลาว    อ. พาน    อ. พญาเม็งราย    อ. ดอยหลวง    อ. ป่าแดด    อ. ขุนตาล   
ค้นหาแหล่งท่องเที่ยว :  
เลือกอำเภอ
 
< ย้อนกลับ | แหล่งท่องเที่ยวอื่นๆในอำเภอ เมือง
   ไร่แม่ฟ้าหลวง (อุทยานศิลปะวัฒนธรรมแม่ฟ้าหลวง)
ข้อมูลติดต่อ
เลขที่ 313 หมู่ 7 บ้านป่างิ้ว ต.รอบเวียง อ.เมือง จ.เชียงราย อีเมล์ rmfl@doitung.org
โทร. 053 716 605-7, 053 601 013 โทรสาร 053 712 429
โฮมเพจ / เว็บไซต์ : www.maefahluang.org
เปิดบริการ : วันอังคาร - วันอาทิตย์ 08.30 น. - 17.00 น.

พิกัด GPRS : 19.902849,99.794204 แผนที่ขนาดใหญ่
++ แสดงพิกัดตำแหน่งที่ตั้ง : 19.902849,99.794204 สามารถคลิกหมุน scall ที่เม้าส์เพื่อซูมแผนที่
"อุทยานแห่งความสงบ งามอย่างล้านนา" ไร่แม่ฟ้าหลวงตั้งอยู่บริเวณพื้นราบทางตะวันตกของตัวเมืองเชียงราย ครั้งหนึ่งเคยเป็นสถานที่ฝึกอบรมเยาวชนชาวเขาจากหมู่บ้านต่างๆ ในภาคเหนือ

  ปัจจุบันเป็นอุทยานศิลปะและวัฒนธรรมอันรื่นรมณ์ด้วยหมู่ไม้นานาพันธุ์ เหมาะสำหรับผู้แสวงหาความสงบเงียบและแรงบันดาลใจอันเกิดจากธรรมชาติ และสิลปวัฒนธรรมพื้นถิ่น บริเณ 150 ไร่ของไร่แม่ฟ้าหลวงเป็นที่จัดแสดงงานศิลปะ วัฒนธรรม ดนตรี ละคร ทั้งยังเหมาะสำหรับจัดงานเลี้ยงรับรองรูปแบบต่างๆ การประชุมสัมนาหรือการประกอบพิธีกรรมพื้นเมืองเหนือในท่ามกลางบรรยากศอันสงบและศักดิ์สิทธิ์

ความเป็นมาของคำว่า "ไหว้สาแม่ฟ้าหลวง"
ความเป็นมาของคำว่า”ไหว้สาแม่ฟ้าหลวง” 
“ไหว้สาแม่ฟ้าหลวง” เป็นภาษาเนหือโบราณแปลว่า การน้อมคารวะ
“แม่ฟ้าหลวง”เป้นคำที่ชาวไทยในพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทบ ใช้แทนพระนามของสมเด็ขพระศรีนครินทราบรมราชชนนี มีผู้สันนิษฐานว่าชาวไทยภูเขาได้คำนี้มาจากชาวไทยใหญ่ในตอนใต้ของประเทศจีนที่เรียกเจ้านายของตนเองว่า “เจ้าฟ้า” บางท่านสันนิษฐานว่า พระนามนี้ได้มาจากกาเสด็จเยี่ยมเยือนราษฎรชาวไทยภุเขา ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้เฮลิปคอบเตอร์เป็นพระราชพาหนะ เปรียบเสมือนมารดาจากฟากฟ้ามาดูแลบุตร แต่ไม่ว่าคำคำนี้จะมีที่มาจากเหตุใด ก็เป็นพระสัญญานามที่ถวายแด่พระองค์ ท่านด้วยความรัก บูชา และซาบซึ้งในพระเมตตาที่ทรงมีต่อราษฎรในพื้นที่ทรุกันดารเหล่านั้น ประดุจความรักและเมตตาอันยิ่งใหญ่ที่มารดาพึงมีต่อบุตร
งานไหว้สาแม่ฟ้าหลวง


จัดขึ้นครั้งแรก ตรงกับวันที่ 9 ธันวาคม 2527 ณ ไร่แม่ฟ้าหลวง เนื่องจากในวโรกาสเจริญพระชนมา ยุครบ 7 รอบ
ครั้งที่ 2 จัดเมื่อวันที่ 11-12 มกราคม 2529 ณ ไร่แม่ฟ้าหลวง การแสดงเรื่อง “ขุนหลวงวิรังคะ และเอื้องแซะ” ซึ่งเป็นเรื่องราวความเกี่ยวกับพันระหว่างชาวเขาเผ่าลั่วะซึ่งเป็นชาวเขา ที่มีผู้สัมผัสน้อยที่สุดกับคนพื้นราบ
ครั้งที่ 3 จัดเมื่อวันที่ 14-15 กุมภาพันธ์ 2530 การแสดงเรื่อง “ศิขรินทร์รัญจวน” ณ ไร่แม่ฟ้า หลวงเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับพระเมตตาของสมเด็จย่าที่มีต่อตำรวจตระเวนชายแดน และ ครูชนบทที่ไกลคมนาคม
ครั้งที่ 4 จัดเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2533 การแสดงชุด “ คำหยาดฟ้า” ณ ไร่แม่ฟ้าหลวง เพื่อ เฉลิมฉลองเนื่องในวโรกาสที่สมเด็จฯทรงเจริญพระชนมายุ 90 พรรษาในปี 2533
ครั้งที่ 5 จัดเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2535 พิธีไหว้สาแม่ฟ้าหลวง ณ พระตำหนักดอยตุง ในครั้งนี้ เป็นการนำโบราณราชประเพณีของล้านนาที่มีการจดจำบันทึกไว้มาใช้ โดยอาศัยความ จงรักภักดีและความสามัคคีของชนชาวไทยทุกหมู่เหล่า
โครงการศิลปะวัฒนธรรมพื้นบ้าน

มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงและธานาคารไทยพาณิชย์ จำกัด ได้ริเริ่มโครงการศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านขึ้นมาเพื่อเป็นการปลูกฝังค่านิยมของคนในสังคมปัจจุบัน จะร่วมในการผลักดันให้มรดกทางวัฒนธรรมเหล่านั้นดำรงอยู่สืบไป ธนาคารและมูลนิธิฯ ได้จัดงานศิลปะดนตรีวัฒนธรรมพื้นบ้าน มีจุดหมายที่จะยกย่องและเผยแพร่วัฒนธรรมพื้นบ้าน ไม่ว่าเป็นเรื่องการสันทนาการ อาหาร ภาษาวรรณคดี ความเชื่อถือ ยารักษาโรค ฯลฯ ที่เกิดขึ้นแลสืบเนื่องต่อกันมาหลายชั่วอายุคน งานนี้จะโยกย้ายไปจัดในจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ เพื่อเป็นเสมือนเครื่องมือเผยแพร่วัฒนธรรมพื้นบ้านอย่างหนึ่ง โดยต้องการให้เห็นความงดงามในความหลากหลายของวัฒนธรรมในประเทศของเรา อันเป็นทางหนึ่งซึ่งก่อให้เกิดความเข้าใจอันดีและสามัคคีเป็นอันเดียวกันของคนภายในประเทศ ที่สำคัญคือต้องการให้เห็นถึงเอกลักษณ์อันโดดเด่นของคนไทยในภาคต่างๆ โดยไม่จำเป็นต้องลอกเลียนวัฒนธรรมและความคิดของชาติอื่นเสมอไป

ครั้งแรก จัดเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2531 ณ ไร่แม่ฟ้าหลวง “คอนเสิร์ตสุนทรีย์ ดอกไม้บานหวานเพลงเหนือ”โดยศิลปินพื้นบ้าน 7 จังหวัดของภาคเหนือ คือ เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง ลำพูน แพร่ นาน และพิษณุโลก จะได้ร่วมกันแสดงดนตรีอันเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละท้องถิ่นในจังหวัดของตน นำรายได้ขึ้นทูลเกล้าถวายสมเด็ดพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ในการจัดหาศิลปวัตถุและโบราณวัตถุของภาคเหนือ เพื่อรวบรวมจัดแสดงที่ “หอคำหลวง”
ครั้งที่ 2 จัดเมื่อวันที่ 11-12 กุมภาพันธ์ 2532 ณ ปราสาทหินพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์ ศิลปดนตรีวัฒนธรรมพื้นบ้านอีสาน เรื่อง”อาสาบารถ” นำรายได้มอบมูลนิธิ ฯ เพื่อสมทบทุนสร้างพิพิธภัณฑ์ศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านของภาคอีสานและสนันสนุนโครงการอีสานเขียว
ครั้งที่ 3 จัดเมือวันที่ 23-26 กุมภาพันธ์ 2534 ณ เกาะยอ จังหวัดสงขลา งานศิลปะวัฒนธรรมและดนตรีพื้นบ้านเรื่อง”ทะเลทิพย์” แสดงที่ศูนย์ทักษิณคดีศึกษาเกาะยอ เป็นการแสดงเกี่ยวตำนานโนราของปักษ์ใต้ ในการแสดงครั้งนี้จะแสดงให้เป็นโนราอย่างโบราณ และอย่างที่ปรับปรุงมีวัฒนาการแล้ว
ครั้งที่ 4 จัดเมือวันที่ 5-8 มกราคม 2535 ณ ศรีสัชชนาลัย จังหวัดสุโขทัย งานศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านแม่ฟ้าหลวง

หอคำ
เป็นสถานปัตยกรรมล้านนาซึ่งมีหลังคามุงด้วยแผ่นไม้สัก ชาวเชียงรายร่วมกันสร้างเพื่อ "ไหว้สาแม่ฟ้าหลวง" ถวายเนื่องในวโรกาที่สมเด็จพระศรีนครินทรืบรมราชชนนีเจริญพระชนมายุ 84 พรรษา เมื่อปี พ.ศ. 2527 อันเป็นฝีมือช่างไม้พื้นบ้านในจังหวัดเชียงรายและแพร่ ภายในหอคำเป็นที่เก็บรวบรวมศิลปวัตถุและงานพุทธศิลป์ มีทั้งพระพุทธรูปแบบล้านนา และเครื่องไม้แกะสลักที่ใช้ในพระพุทธศาสนา เช่น สัตภัณฑ์ (เชิงเทียนไม้เก่าแก่) ตุงกระด้าง (ตุงหรือธงไม้) ขันดอก (ภาชนะใส่ดอกไม้ธูปเทียนบูชาพระ) บรรยากาศภายในหอคำศักดิ์และขรึมขลัง ให้ความรู้สึกที่อธิบายได้ยาก แสงเทียนที่วับแวมอยู่ในความสลัวชวนให้เกิดความปีติจับใจ พระพุทธรูปองค์สำคัญในหอคำ คือ พระพร้าโต้ ซึ่งมีจารึกว่าสร้างในปี พ.ศ. 2236 โดยชาวบ้านซึ่งพึ่งย้ายเข้ามาอยู่ในพื้นที่และยังไม่มีเครื่องมือที่เหมาะสมในการสลักเสลาพระพุทธรูปไม้ให้ประณีตจึงใช้เพียงมีดโต้เป็นเครื่องมือแกะสลัก พระพุทธรูปมีลักษณะแข็งแรง และสง่างาม
รายละเอียดเพิ่มเติม
หอคำแม่ฟ้าหลวง

“หอคำแม่ฟ้าหลวง” เป็นเครื่องไหว้สาแม่ฟ้าหลวงในวโรกาสที่พระองค์ท่านทรงเจริญพระชนมายุครบ 84 พรรษา และได้ก่อสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2530 “หอคำหลวง” เป็นผลงานแห่งความรักความศรัทราของบุคคลหลายหน่วยหลายฝ่าย ซึ่พงยายามสร้างที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม อันเป็นการเจริญตามรอยพระยุคลบาทของพระองค์ท่าน สถาปนิกของหอคำ มีอยู่ คือคุณ ทรงศักดิ์ ทวีเจริญ , คุณครองศักดิ์ จุฬามรกต, คุณเผ่า สุวรรณศักดิ์ศรีและคุณธีรพล นิยม , คุณมนัส รัตนสัจธรรม และคุณจรูย กมลรัตน์ เป็นวิศวกร นายช่างชลประทานเป็นผู้ควบคุมการก่อสร้างโดยใช้ช่างไม้พื่นบ้านจากจัหงวัดเชียงรายและแพร่ เสาไม้ใหญ่และลำไม้สักที่เกิดจากการซอยป่า ได้รับการเอื้อเฟื้อจากองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ นอกเหนือจากจากไม้ของบ้านเก่า จำนวน 32 หลัง ซึ่งทางมูลนิธิฯ เป็นผู้จัดซื้อ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมช่วยในด้านงานศิลปะตกแต่ง ผู้ใหญ่บ้านและชาวบ้านป่างิ้วเป็นเป็นผู้ช่วยดูแลรักษาสาธารณสมบัติอันมีค่าของจังหวัดเชียงรายชิ้นนี้
ศิลปวัตถุชิ้นแรกที่นำมาแสดงในโอกาสอันเป้นมงคลยิ่งนี้คือ การแสดงเครื่องสัตภัณฑ์ และพระพุทธรุปไม้สักล้านนาไทย
ในระวห่างปี พ.ศ. 2529-2530 มีการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจครั้งยิ่งใหญ่ในภาคเหนือของประเทศไทย มีการปรับปรุงเรื่องการไฟฟ้าและคมนาคม ชาวบ้านมีฐานะดีขึ้นโดยเฉพาะในหมู่บ้านที่มีการเดินทางไปทำงานต่างประเทศ วัดวาอารามเก่าแก่หลายอห่งถูกรื้อลง เพื่อสร้างขึ้นมาใหม่ตามแบบฉบับสมัยนิยม สัตภัณฑ์หรือแท่นเชิงเทียนถูกย้ายถ่ายเทไปตามที่ต่างๆ มุลนิธิแม่ฟ้าหลวงเห็นควรจะถนอมรักษาศิลปวัตถุที่งดงามนี้ไว้ จึงได้จัดซื้อเครื่องสัตภัณฑ์เหล่านี้มารวบรวมดูแลรักษาไว้ และในขณะเดียวกันก็มีผู้บริจาคสมทบเป็นจำนวนมาก สัตภัณฑ์เป็นสิ่งหนึ่งที่มีประโยชน์ใช้สอย ช่วยให้เกิดความสว่าง ความสงบ ความสวยงาม และความหวังมาหลายชั่วอายุคนในล้านนา หวังว่าการแสดงสัตภัณฑ์ จะช่วยให้ท่านผู้ชมได้เกิดความรู้สึกที่ดีงามดังกล่าวข้างต้นด้วย

พระพุทธรุปไม้สักทองสำตคัญในหอคำหลวง วัดแห่งหนึ่งในจังหวัดแพร่ได้มอบให้เป็นสิริมลคลพระพุทธรุปนี้มีพระนานมว่า “พระพร้าใต้” ซึ่งสร้างในปี พ.ศ. 2236 กล่าวกันว่าสร้างในสมัยที่บุกเบิกก่อสร้างบ้านเมือง ชาวบ้านซึ่งอพยพเข้าไปตั้งรากฐาน ณ บริเวณใกล้วัดนี้ยังขาดเครื่องมือใช้อันจะประดิดประดอยพระพุทธรุปให้ละเอียดประณีต จึงจำเป็นต้องสร้างพระพุทธรูปนี้โดยใช้มีดขนาดใหญ่หนา พุทธลักษณะจึงปรากฏในลักษณะที่เข้มแข็ง บึกบึน และสง่างาม หวังว่าพระพุทธรุปลักษณะนี้จะเป็นแรงบันดาลใจที่ดีของไร่แม่ฟ้าหลวง ที่พึ่งเริ่มบุกเบิกงาน และมีภาระที่ต้องฝ่าฟันอุปสรรอีกไม่น้อย 
คำว่า “หอคำ” ในภาษาพื้นเมืองของเรานั้นหมายถึงที่อยู่ของเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน คำว่า “ คำ” นอกจากจะแปลว่า “ทองคำ”แล้วยังหมายถึงสิ่งที่ดีสิ่งที่งามอีกด้วย
สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีหรือแม่ฟ้าหลวงของพวกเราทั้งหลายนั้นทรงเป็นตัวอย่างในเรื่องการบำเพ็ญประโยชน์ต่อสาธารณชน พระราชกรณียกิจต่างๆหลากหลายและทรงคุณประโยชน์ที่สุดที่จะบรรยาย มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงซึ่งอยู่ในพระราชูปถัมภ์ใคร่จะเจริญตามรอยพระบาทองค์ท่าน แทนที่จะสร้างหอคำถวายไว้เป็นของพระองค์ท่านแต่เพียงผู้เดียว แต่กลับได้แบ่งปันให้เป็นประโยชน์ใช้สอยสำหรับมวลชนโดยทั่วไป

หอคำมีโครงสร้างและวัสดุที่ใช้อย่างล้านนาไทย กล่าวคือ แบบหลังค่ได้ความบันดาลในจากวัดในจังหวัดลำปาง ตัวอาหารสอบเข้าเหมือนลักษณะเรือนล้านนาอย่างโบราณ ลวดประดับได้จากจังหวัดอุตรดิตถ์ซึ่งเป็นจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง วัสดุใช้ไม้จากภาคเหนือทั้งหลังโดยที่มูลนิธิฯซื้อไม้จากไม้เก่าในเขตจังหวัดเชียงราย และพะเยาจำนวน 32 หลัง ไม้เสาใหญ่ได้รับความเอื้อเฟื้อจากองค์การ อ.อ.ป.หลังคาเป็นหลังคาเก่าของบ้านในชนบท เป็นไม้แผ่นสักกว้างประมาณ 4นิ้ว ซ้อนๆกันซึ่งชาวบ้านเรียกว่า “แป้นเกล้ด” นายช่างผู้ก่อสร้างเป้นนานช่างจากจังหวัดเชียงรายและจังหวัดแพร่ ช่างแกะสลักได้จากจังหวัดเชียงใหม่และลำพูน วิศกรโครงสร้างเป็นนายช่างจากกรมชลประทาน

มีไม้แกะสลักรุปสามเหลี่ยมใหญ่อยู่ 5 ชิ้น ในหอคำนี้ซึ่งน่าในใจ ไม้ทั้ง 5 ชิ้นนี้เป็นรูปสัตว์ 5 ชนิด ซึ่งมาจากสัญลักษณ์ปีคล้ายปีประสูติของสมเด็จพระมิคลาธิเบศร อดุลยเดจวิกรม(สมเด็จพระบรมราชนก)และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี,พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมาหาอนันทมหิดล,พระบามสมเด็จพระปรมิรทรหมภูมิพลดอุลยเดช(รัชกาลปัจจุบัน)และสมเด็จพรี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลป์ยานวัฒนาเราได้ประดับไม้แกะสลักทั้ง 5 ชิ้นฝีมือช่างพื้นบ้านนี้ไว้ในที่สูงสุด นอกเหนือไปจาก “หอคำหลวง”แล้ว ทางมูลนิธิยังใช้เวลาและทุนทรัพย์ในการปรับปรุงบริเวณรอบๆหอคำให้สะอาดและรื่นรมย์ให้มีต้นไม้เป็นที่อาศัยของนกกาและมีความสงบเหมาะสมสำหรับเป็นที่เดินเล่นพักผ่อน เชื่อว่าเมืองเชียงรายซึ่งได้รับความเมตตาปราณีจากชาวบ้านเชียงรายโดยตลอดมา จึงเป็นทีน่ายินดีว่ามีโอกาสสร้าง “หอคำหลวง” ขึ้นเพื่อประโยชน์อย่างหนึ่งของแผ่นดินเชียงราย


หอคำน้อย
การเดินเล่นในอุทยานแห่งนี้เป็นประสบการณ์พิเศษ ภายในอุทยานมีไม้ป่านานาพันธุ์ มีพระรูปปั้นของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีอันเป็นผลงานของคุณมีเซียม ยิบอินซอย มีอาคารศิลาแลงหลังคาแป้นเกล็ดไม้สัก ซึ่งเรียกว่า "หอคำน้อย" เป็นที่เก็บภาพจิตกรรมฝาผนัง เขียนด้วยสีฝุ่นบนกระดานไม้สัก สันนิษฐานว่าเขียนขึ้นในช่วงต้นรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยช่างเขียนชาวไทลื้อ ภาพแสดงให้เห็นถึงความเป็นอยู่ การแต่งกาย และวัศนธรรมล้านนาเมื่อกว่าร้อยปีมาแล้ว
รายละเอียดเพิ่มเติม“หอคำน้อย” ซึ่งเป้นที่เก็บจิตรกรรมภาพวาดบนแผ่นไม้สักจากเวียงต้า อำเภอลอง จังหวัดแพร่ และวันเฉลิมฉลอง “หอคำน้อย” ตรงกับวันที่ 8 ธันวาคม 2535
มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงเห็นว่าศสิลปะเหล่านี้เป็ยของแผ่นดิน มมิได้เป็นของผู้ใดผู้หนึ่ง ดดยเฉาะมูลนิฯ มีความภาคภูมิใจที่ได้มีโอกาสเป็นผู้ดูแลรักษาเพื่อสาธารณชน


หอแก้ว
จากหอคำน้อย เมื่อเดินผ่านป่าสมุนไพรไปทางทิศใต้ จะพบอาคารหลังใหญ่ คือ “หอแก้ว” ซึ่งมีพื้นที่แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนหนึ่งใช้เป็นที่ทำกิจกรรม เช่น การประชุมสัมมนา จัดเลี้ยง ฯลฯ มีระเบียงยื่นลงไปในสระว่ายน้ำกว้างใหญ่ เหมาะแก่การสังสรรค์อันรื่นรมณ์ และปลอดโปร่งใจ อีกส่วนหนึ่งเป็นพื้นที่จัดนิทรรศการเกี่ยวกับไม้สัก ทั้งในด้านพฤกษศาสตร์ และในด้านเป็นวัสดุอันเลื่องชื่อสำหรับสร้างสรรค์งานศิลปะ

รายละเอียดเพิ่มเติม
หอแก้ว
อาคารสถาปัตนกรรมล้านนาประยุกต์ขนาดใหญ่ สร้างเสร็จเมื่ออปี พ.ศ. 2544 ได้แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนหนึ่งใช้เป็นที่ทำกิจกรรม เช่น การประชุมสัมมนา จัดเลี้ยงฯลฯ มีระเบียงยื่นลงไปสระน้ำกว้างใหญ่เหมาะแก่การสังสรรค์ค์อันเรื่นรมย์แลละปลอดโปร่งใจ อีกส่วนหนึ่งเป้ฯพื้นที่จัดนิทรรศการ ซึ่งขณะนี้ได้จัดนิทรรศกาถาวรเรื่อง “ไม้สัก” และนิทรรศการเรื่องหมุ่นเวียน “หอคำในอาณาจักรล้านนา”
“นิทรรศการภาพถ่ายหอคำ” ประกอบด้วยภาพหอคำและวิถีชีวิตในคุ้มหลวงของล้านนาโบราณซึ่งตามขบนธรรมเนียมในอดีต ถือได้ว่าหอคำเป็นศูนย์กลางการเมืองการปกครองที่สำคัญ เป็นไปตามความเชื่อหลักศาสนา โหราศาสตร์ และมีความสำคัญต่อสังคม จากภาพถ่ายที่จัดแสดงจึงได้ปรากฏความเจริญของสถาปัตยกรรมที่ได้รับอิทธิพลจากการเมืองตลอดเวลา นิทรรศการเริ่มต้นด้วยรูปแบบโครงสร้างของหอคำที่ได้รับอิทธิพลศิลปะพม่าซึ่งได้แผ่ขยายไปทั่ว โดยจัดแสดงภาพหมู่พระมหามณเฑียรแห่งเมืองมัณฑเลย์ภาพถ่ายของหอคำในภาคเหนือของไทย อันประกอบไปด้วย หอคำเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แพร่ และน่าน ข้ามแม่น้ำโขงไปยังลาวตอนบน จะพบหอคำหลวงพระบางและเมืองสิง จบลงด้วยภาพหอคำในเชียงตุง ยองห้วย และแสนหวีในรัฐแน ประเทศพม่า
 

สำนักงานกรุงเทพฯ
โทร. 02-252 7114 
โทรสาร. 02-2541665
อีเมล์ tourism@doitung.org

**เปิดทุกวันเวลา 08.00-18.00 น.(ยกเวันวันจันทร์) "

อัตราค่าเข้าชม
http://www.chiangraifocus.com/storageFiles/1340680782.jpg 

รูปภาพไร่แม่ฟ้าหลวง
http://www.chiangraifocus.com/forums/index.php?topic=356.0
http://www.chiangraifocus.com/forums/index.php?topic=24499.0

เปิดดู 32799 ครั้ง
แจ้งแก้ไขข้อมูล หรือเพิ่มเติมข้อมูล ส่งเมล์มาที่ ทีมงานเช็คอีเมล์ทุกวัน
 

เกี่ยวกับเรา
เกี่ยวกับเชียงรายโฟกัส
กิจกรรมของเว็บ
เงื่อนไขการให้บริการ
ติดต่อทีมงาน
ช่วยเหลือ
แจ้งปัญหาการใช้งาน/อัพเดทข้อมูล
คำถามที่พบบ่อย
คำแนะนำการใช้งานเว็บไซต์
รวมทุกหัวข้อบนเว็บไซต์ (Site Map)
ข้อมูลเพิ่มเติม
สถิติ โดยรวมของเว็บ
 
เว็บไซต์ V.2010 , V.2012 , V.2018 , V.2020
ติดต่อโฆษณา


สงวนลิขสิทธิ์ © 2007-2021 https://www.chiangraifocus.com